messager
place ข้อมูลหน่วยงาน
สภาพทั่วไป
ส่วนที่ ๑ สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน ๑. ด้านกายภาพ ๑.๑ ที่ตั้งและอาณาเขต องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ห้วยยาง (อบต.ห้วยยาง) ตามประกาศพระราชกฤษฎีกา เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๓๙ ซึ่งได้มีการปรับขนาด องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นขนาดใหญ่ เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๕ ปัจจุบันมีที่ทำการตั้งอยู่ที่ บ้านนาคำ หมู่ที่ ๔ ตำบลห้วยยาง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร หลักกิโลเมตรที่ ๙ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓ สายสกลนคร – กาฬสินธุ์ อยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอเมืองสกลนคร มีระยะห่างประมาณ ๙ กิโลเมตร มีเนื้อที่ ๖-๐-๘๐ ไร่ ภาพที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง เนื้อที่ เขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง มีเนื้อที่ประมาณ ๑๔๘ ตารางกิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้ ทิศเหนือ มีเขตติดต่อกับตำบลพังขว้าง อำเภอเมืองสกลนคร ทิศใต้ มีเขตติดต่อกับตำบลโคกภู อำเภอภูพาน ทิศตะวันออก มีเขตติดต่อกับตำบลดงมะไฟ อำเภอเมืองสกลนคร ทิศตะวันตก มีเขตติดต่อกับตำบลนาม่อง อำเภอกุดบาก ภูมิประเทศ มีลักษณะโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง ที่ดอน ที่ราบสูงเชิงเขา เทือกเขาภูพาน มีลำธารและลำห้วย อันเกิดจากเทือกเขาภูพานหลายแห่ง เหมาะสำหรับการปลูกพืชไร่ และเลี้ยงสัตว์ พื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล ประมาณ ๑๗๒ เมตร ๑.๒ ด้านการเมือง/การปกครอง แบ่งเขตการปกครอง จำนวนหมู่บ้าน ๑๖ หมู่บ้าน ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมด ได้แก่
ภาพ

ข้อมูลพื้นฐานของหน่วยงาน
แบ่งเขตการปกครอง จำนวนหมู่บ้าน 16 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่1 บ้านศรีวิชา หมู่ 2 บ้านห้วยยาง หมู่3 บ้านนาขาม หมู่ 4 บ้านนาคำ หมู่5 บ้านบอน หมู่ 6 บ้านเหล่า หมู่7 บ้านพะเนาว์ หมู่ 8 บ้านลาดกะเฌอ หมู่9 บ้านม่วง หมู่10 บ้านนานกเค้า หมู่11 บ้านหนองบัวทอง หมู่12 บ้านลาดสมบูรณ์ หมู่13 บ้านคลองไผ่พัฒนา หมู่14 บ้านหนองแผกพัฒนา หมู่15 บ้านท่าวัดทุ่งพัฒนา หมู่16 บ้านลาดสมบูรณ์ใหม่ ประชากร จำนวนประชากร และครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น 14,622 คน แยกเป็นชาย 7,302 หญิง 7,320 มีหลังคาเรือนทั้งหมด 5,138 ครัวเรือน โครงสร้างและการจัดหน่วยงาน อำนาจหน้าที่ ภารกิจ วิธีการดำเนินงาน และสถานที่ ติดต่อ เพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ที่จะให้ประชาชนได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารการดำเนินการต่างๆของหน่วยงานของรัฐ เพื่อที่ประชาชนจะได้ติดต่อขอใช้บริการจากหน่วยงานของรัฐได้สมเจตนารมย์ มีความเข้าใจถึงระบบงาน การดำเนินการต่างๆ รวมทั้งรับรู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของตน เพื่อที่จะได้ปกป้องรักษาประโยชน์ของตนได้ จึงสมควรประกาศโครงสร้าง และการจัดหน่วยงาน อำนาจหน้าที่ ภารกิจ วิธีการดำเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ไว้ดังต่อไปนี้ หมวด ๑ ภารกิจ อำนาจหน้าที่ ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ รวมที่แก้ไขจนถึงฉบับปัจจุบัน และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ และรวบรวมกฎหมายอื่นขององค์การบริหารส่วนตำบล ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่าองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างไร โดยวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ในการดำเนินการตามภารกิจตามหลัก องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา โดยสามารถกำหนดแบ่งภารกิจได้ เป็น ๗ ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ รวมที่แก้ไขจนถึงฉบับปัจจุบัน และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนี้ ๑.๑ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น (๑) จัดให้มีและการบำรุงทางน้ำและทางบก (มาตรา ๖๗(๑)) (๒) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร (มาตรา ๖๘ (๑)) (๓) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น (มาตรา ๖๘ (๒)) (๔) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ (มาตรา ๖๘ (๔)) (๕) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ (มาตรา ๑๖ (๔)) (๖) การสาธารณูปการ (มาตรา ๑๖ (๕)) ๑.๒ ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น (๑) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ (มาตรา ๖๗ (๖)) (๒) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (มาตรา ๖๗ (๓)) (๓) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬาการพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ (มาตรา ๖๗ (๔))(๔) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส (มาตรา ๑๖ (๑๐))(๕) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (มาตรา ๑๖ (๒)) (๖) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน (มาตรา ๑๖ (๕)) (๗) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล (มาตรา ๑๖ (๑๙)) ๑.๓ ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (๑) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (มาตรา ๖๗ (๔)) (๒) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน (มาตรา ๖๘ (๘)) (๓) การผังเมือง (มาตรา ๖๘ (๑๓)) (๔) จัดให้มีที่จอดรถ (มาตรา ๑๖ (๓)) (๕) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (มาตรา (๑๗)) (๖) การควบคุมอาคาร (มาตรา ๑๖(๒๘)) ๑.๔ ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (๑) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว (มาตรา ๖๘ (๖)) (๒) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์ (มาตรา ๖๘( ๕)) (๓) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร (มาตรา ๖๘ (๗)) (๔) ให้มีตลาด (มาตรา ๖๘ (๑๐)) (๕) การท่องเที่ยว (มาตรา ๖๘ (๑๒)) (๖) กิจการเกี่ยวกับการพาณิช (มาตรา ๖๘ (๑๑)) (๗) การส่งเสริม การฝึกและประกอบอาชีพ (มาตรา ๑๖ (๖)) (๘) การพาณิชย์กรรมและการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา ๑๖ (๗)) ๑.๕ ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (๑) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มาตรา ๖๘ (๗)) (๒) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล (มาตรา ๖๗(๒)) (๓) การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ (มาตรา (๑๗ (๑๒)) ๑.๖ ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (๑) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น (มาตรา ๖๗ (๘)) (๒) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (มาตรา ๖๗ (๕)) (๓) การจัดการศึกษา (มาตรา ๑๖ (๙)) (๔) การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนาธรรมอันดีงามของท้องถิ่น (มาตรา ๑๗ (๑๘)) ๑.๗ ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (๑) สนับสนุนสภาตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น (มาตรา ๔๕ (๓)) (๒) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร (มาตรา ๖๗ (๙)) (๓) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร ในการมีมาตรการป้องกัน (มาตรา ๑๖ (๑๖)) (๔) การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา ๑๗ (๓)) (๔) การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น (มาตรา ๑๗ (๑๖)) ภารกิจทั้ง ๗ ด้านตามที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจองค์การบริหารส่วนตำบลสามารถจะแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยคำนึงถึงความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ประกอบด้วยการดำเนินการขององค์การบริหารส่วนตำบล จะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของ ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นสำคัญ หมายเหตุ : มาตรา ๖๗,๖๘ หมายถึง พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ รวมที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับปัจจุบัน : มาตรา ๑๖,๑๗ และ ๔๕ หมายถึง พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ภารกิจหลัก และภารกิจรอง ที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางจะดำเนินการ ภารกิจหลัก ๑. ด้านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ๒. ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต ๓. ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย ๔. ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๕. ด้านการพัฒนาการเมืองและการบริหาร ๖. ด้านการส่งเสริมการศึกษา ๗. ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ภารกิจรอง ๑. ด้านการส่งเสริมการศึกษา การศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญา ท้องถิ่น ๒. ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชย์และการท่องเที่ยว ๓. ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินการ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการกำหนดโครงสร้างส่วนราชการและหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนราชการให้เป็นไปตามระบบจำแนกตำแหน่งในระบบแท่ง และให้เหมาะสมกับภารกิจตามหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนราชการภายในไว้ ดังนี้ หน่วยตรวจสอบภายใน มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจสอบการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆภายในองค์การบริหารส่วนตำบล ด้านงบประมาณ บัญชีและพัสดุ รวมทั้งตรวจสอบหลักฐานทางการบัญชีและการตรวจสอบการดำเนินงาน รวมทั้งสอบทานและประเมินผลการควบคุมภายในขององค์การบริหารส่วนตำบล โดยจำแนกออกเป็นงานได้ดังนี้ ๑. ด้านงบประมาณ มีหน้าที่ความรับผิดชอบตรวจสอบเอกสารทางด้านการบัญชี การเงิน ยอดเงิน การเบิกจ่ายเงิน การทำสัญญา การจัดหาพัสดุ ๒. ด้านการบัญชีและพัสดุ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ตรวจสอบเอกสารทาง ด้านการลงบัญชี การเก็บรักษาพัสดุในคลังพัสดุ การตรวจสอบการใช้ การเก็บรักษายานพาหนะให้ประหยัดและถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ ๑. สำนักงานปลัดองค์การบริหารตำบล สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลและราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดในองค์การบริหารส่วนตำบล โดยเฉพาะ งานธุรการ งานสารบรรณ การจัดทำแผนพัฒนาตำบล การจัดทำร่างข้อบัญญัติ การทำทะเบียนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล การดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม งานการประชุม งานข้อบังคับตำบล งานนิติการ งานรัฐพิธี งานประชาสัมพันธ์ งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การให้คำปรึกษาหน้าที่และความรับผิดชอบ การปกครองบังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบลและพนักงานจ้าง การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมด การดำเนินการเกี่ยวกับการอนุมัติต่างๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นๆและที่เกี่ยวข้อง โดยจำแนกออกเป็นงานได้ดังนี้ ๑.๑ งานบริหารงานทั่วไป ๑.๒ งานบริหารงานบุคคล ๑.๓ งานนโยบายและแผน ๑.๔ งานกฎหมายและคดี ๑.๕ งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ๑.๖ งานส่งเสริมการท่องเที่ยว ๑.๗ งานส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ๑.๘ งานกิจการโรงเรียน ๑.๙ งานสวัสดิการและพัฒนาชุมชน ๑.๑๐ งานสังคมสงเคราะห์ ส่งเสริมอาชีพและพัฒนาสตรี ๑.๑๑ งานส่งเสริมการเกษตรและปศุสัตว์ ๒. กองคลัง กองคลัง มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำบัญชี และทะเบียนรับ-จ่ายเงินทุกประเภท งานเกี่ยวกับการเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน การตรวจเงินองค์การบริหารส่วนตำบล รวบรวมสถิติเงินได้ประเภทต่างๆ การเบิกตัดปี การขยายเวลา เบิกจ่ายงบประมาณ การหักภาษีและนำส่ง รายงานเงินคงเหลือประจำวัน การรับและจ่ายขาดเงินสะสมขององค์การบริหารส่วนตำบล การยืมเงินทดรองราชการ การจัดหาผลประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สิน ตรวจสอบเงินของจังหวัดและสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน การเร่งรัดจัดเก็บรายได้ การพัฒนา การออกใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมต่างๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยจำแนกออกเป็นงานได้ดังนี้ ๒.๑ งานการเงิน ๒.๒ งานบัญชี ๒.๓ งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ ๒.๔ งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ ๒.๕ งานธุรการ ๓. กองช่าง กองช่าง มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการสำรวจออกแบบและจัดทำโครงการใช้จ่ายเงินองค์การบริหารส่วนตำบล การขออนุมัติเพื่อดำเนินการตามโครงการที่ตั้งจ่ายจากเงินรายได้ขององการบริหารส่วนตำบล งานประมาณการค่าใช้จ่ายตามโครงการ งานควบคุมอาคาร งานก่อสร้าง งานผังเมือง งานบำรุงซ่อมแซมและจัดทำทะเบียนสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบล การให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำโครงการและออกแบบก่อสร้างที่อยู่ในความรับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบล และงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย โดยจำแนกออกเป็นงานได้ดังนี้ ๓.๑ งานก่อสร้าง ๓.๒ งานออกแบบและควบคุมอาคาร ๓.๓ งานประสานสาธารณูปโภค ๓.๔ งานผังเมือง ๓.๕ งานธุรการ ๔. กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการสาธารณสุข อนามัย การป้องกันและรักษาโรค การรักษาความสะอาด การอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วางแผน ประสาน คุ้มครองดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรป่าไม้ ดิน น้ำ ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติอื่น รวมทั้งการจัดการและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ การเฝ้าระวัง ติดตาม ตรวจสอบ และดำรงไว้ซึ่งสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต และงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย โดยจำแนกออกเป็นงานได้ดังนี้ ๔.๑ งานอนามัยและสิ่งแวดล้อม ๔.๒ งานสุขเสริมสุขภาพและสาธารณสุข ๔.๓ งานรักษาความสะอาด ๔.๔ งานควบคุมโรค ๔.๕ งานบริการสาธารณสุข ๔.๖ งานธุรการ สถานที่ติดต่อ เพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร ศูนย์ข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ตั้งอยู่ที่ชั้น ๑ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง เลขที่ ๕๓๗ หมู่ที่ ๔ บ้านนาคำ ตำบลห้วยยาง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ๔๗๐๐๐ หมายเลขโทรศัพท์ ๐-๔๒๑๖-๓๑๖๗ โทรสาร ๐-๔๒๑๖-๓๑๖๗ ประกาศ ณ วันที่ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ (นายรำลึก อิงเอนุ) ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ปฏิบัติหน้าที่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง
ประชากร
๑.๓ ประชากร จำนวนประชากรและครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น ๑๔,๖๒๒ คน แยกเป็น ชาย ๗,๓๐๒ คน หญิง ๗,๓๒๐ คน มีหลังคาเรือนทั้งหมด ๕,๑๓๘ ครัวเรือน : ข้อมูล ณ เดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ จากงานทะเบียนราษฎร์ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ๑.๔ สภาพทางสังคม การศึกษา - โรงเรียนประถมศึกษา ๒ แห่ง - โรงเรียนขยายโอกาส ๔ แห่ง - โรงเรียนอาชีวศึกษา ๑ แห่ง - ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน ๙ แห่ง - หอกระจายข่าว ๑๘ แห่ง - เสียงตามสาย ๑๔ แห่ง - ศูนย์ศึกษาพัฒนาฝีมือแรงงาน ๑ แห่ง - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๙ แห่ง สถาบันและองค์กรทางศาสนา - วัดที่ได้รับสารตราตั้ง ๑๗ แห่ง - วัดที่ยังไม่ได้รับสารตราตั้ง ๓ แห่ง - สำนักสงฆ์ ๑๑ แห่ง - โบสถ์คริสต์ ๒ แห่ง (บ้านนาขาม ม.๓ และบ้านลาดกะเฌอ ม.๘) สาธารณสุข - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล/ประจำหมู่บ้าน ๓ แห่ง (รพ.สต.นาคำ,รพ.สต.นาขาม,รพ.สต.ลาดกะเฌอ) - สถานพยาบาลเอกชน ๖ แห่ง - ศูนย์สุขภาพชุมชน ๔ แห่ง - ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) ๑๒ แห่ง - สนามกีฬาประจำหมู่บ้าน ๖ แห่ง - สวนสาธารณหมู่บ้าน ๑ แห่ง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน - สถานีตำรวจ ๑ แห่ง (สถานีตำรวจภูธรตาดโตน) หน่วยงานราชการ - ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ - ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสกลนคร - ศูนย์ฝีมือแรงงานจังหวัดสกลนคร - โครงการชลประทานห้วยเดียก - ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตสกลนคร - ฟาร์มตัวอย่างหนองหมากเฒ่า ตามพระราชดำริ - พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ - สถานีตำรวจภูธรตาดโตน - ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าสกลนคร - ศูนย์วิจัยผลิตผลป่าไม้สกลนคร - อุทยานแห่งชาติภูพาน - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาคำ - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาขาม - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลาดกะเฌอ - โรงเรียนบ้านพะเนาว์ราษฏร์บำรุง - โรงเรียนบ้านพะเนาว์ราษฏร์บำรุง (สาขานาขาม) - โรงเรียนบ้านบอนสหราษฏร์บำรุง - โรงเรียนบ้านนาคำวิทยาคาร - โรงเรียนบ้านศรีวิชาคุรุราษฏร์อุทิศ - โรงเรียนบ้านลาดกะเฌอคุรุราษฏร์ชูวิทย์ - วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดสกลนคร ๑.๕ ระบบบริการพื้นฐาน การคมนาคม ตำบลห้วยยาง มีเส้นทางคมนาคมทางบกเชื่อมระหว่างตำบลและอำเภอ ดังนี้ - ถนนลาดยาง ๕ สายหลัก คือ สายบ้านศรีวิชา – เต่างอย, สายสกลนคร – กาฬสินธุ์ , สายดงขุมข้าว – พังขว้าง – ธาตุนาเวง, สายลาดกะเฌอ – กุดบาก - ถนนเชื่อมกันทุกหมู่บ้าน การสื่อสารและโทรคมนาคม - เครือข่ายโทรศัพท์ มีตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน ๖ ตู้ - สถานีเครือข่ายโทรทัศน์ ๖ แห่ง คือ ช่อง ๓, ๕, ๗, ๙, ไทย PBS, NBT. การไฟฟ้า พื้นที่ในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง มีไฟฟ้าใช้ทั้งหมด ๑๖ หมู่บ้าน ๑.๖ ระบบเศรษฐกิจ ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย รับราชการและรับจ้างทั่วไป หน่วยธุรกิจในเขต อบต. หน่วยธุรกิจที่ดำเนินการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง มีดังนี้ - โรงสีข้าวมีอยู่ทุกหมู่บ้าน ๓๑ แห่ง - ปั้มน้ำมัน ๖ แห่ง - ปั๊มหลอด ๖ แห่ง - โรงงานอุตสาหกรรม ๔ แห่ง - ศูนย์สาธิตการตลาด ๓ แห่ง - กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ๖ แห่ง - ห้างสรรพสินค้า ๑ แห่ง (ไทวัสดุ) - โกดังพักสินค้า ๒ แห่ง (ดัชมิลล์, แลตตาซอย) - โรงแรมที่พัก (รีสอร์ท) ๗ แห่ง - ห้องเช่า ๑๐ แห่ง - ร้านขายของเบ็ดเตล็ด ๘๖ แห่ง - ร้านอาหาร ๑๕ แห่ง - ร้านคาราโอเกะ ๔ แห่ง - ฟาร์มหมู ๒ แห่ง - โรงผสมปูนซีเมนต์สำเร็จ ๑ แห่ง (ศรีนวลคอนกรีต) - อู่ซ่อมรถ ๑๗ แห่ง - ร้านขายยา ๓ แห่ง - บ่อนไก่ ๑ แห่ง ๑.๗ เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ) แหล่งน้ำธรรมชาติ - ลำน้ำ ลำห้วย จำนวน ๒๕ สาย - บึง หนองและอื่น ๆ จำนวน ๑๓ แห่ง แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น - ฝาย จำนวน ๑๙ แห่ง - บ่อน้ำตื้น จำนวน ๓๓ แห่ง - อ่างเก็บน้ำ จำนวน ๘ แห่ง - บ่อโยก จำนวน ๒๙ แห่ง - คลองส่งน้ำ จำนวน ๘ แห่ง (จากอ่างเก็บน้ำห้วยเดียก - ประปาหมู่บ้าน จำนวน ๑๘ แห่ง - บ่อบาดาล จำนวน ๑๙๐ บ่อ ๑.๘ ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม - งานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ๑.๙ ทรัพยากรธรรมชาติ ในพื้นที่ตำบลห้วยยาง อุดมไปด้วย น้ำ ดิน สัตว์ป่า และป่าไม้จำนวนมาก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตอุทยานแห่งชาติภูพาน มีเนื้อที่ ๔๙,๓๗๔ ไร่ และป่าสงวนแห่งชาติ “ป่าดงชมพูพานและป่าดงกะเฌอ” มีพื้นที่ ๘๖,๘๗๕ ไร่ ๑.๑๐ อื่นๆ สถานที่ท่องเที่ยว ๑. พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ ๒. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 1.1 โครงการชลประทานจังหวัดสกลนคร (อ่างเก็น้ำห้วยเดียก) ๓. แผนที่การเดินทางไปศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน/ห้วยเดียก/และพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ ๔. ถ้ำเสรีไทย (ภาพทางเข้าถ้ำเสรีไทยและภายในถ้ำเสรีไทย) ๕. น้ำตกคำหอม (ภาพธารน้ำไหลมาจากน้ำตกคำหอมบนเทือกเขาภูพาน) ๖. โค้งปิ้งงู ๗. ผานางเมิน ๘. ผาเจื่อน ศักยภาพด้านทรัพยากรมนุษย์ ฝ่ายการเมือง (ตำแหน่งว่าง) สภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง จำนวน ๒๗ คน ๑. นายอภิชาติตะบุตร พันธ์ก้อม ประธานสภา อบต. (ส.อบต. หมู่ที่ ๑๒) ๒. นายเทวินทร์ ชาชมราษฎร์ รองประธานสภา อบต. (ส.อบต. หมู่ที่ ๑๑) ๓. นายประเสริฐ ภารดิลก ส.อบต. หมู่ที่ ๑ ๔. นายเสน่ห์ ดวงปากดี ส.อบต. หมู่ที่ ๒ ๕. นายประจักษ์ วงค์สีดา ส.อบต. หมู่ที่ ๓ ๖. นางภัทรวดี สีปากดี ส.อบต. หมู่ที่ ๔ ๗. นายเทิดศักดิ์ วงศ์สีดา ส.อบต. หมู่ที่ ๔ ๘. นายสุทธิพันธ์ คุณปัญญา ส.อบต. หมู่ที่ ๕ ๙. นายประยูร เทษาดินทร์ ส.อบต. หมู่ที่ ๕ ๑๐. นายทองไลย์ วงค์นาบาล ส.อบต. หมู่ที่ ๖ ๑๑. นายสมศักดิ์ พรหมโคตร ส.อบต. หมู่ที่ ๗ ๑๒. นายถนัด ม่อมพะเนาว์ ส.อบต. หมู่ที่ ๗ ๑๓. นายบุญเก่ง โหดไทยสงค์ ส.อบต. หมู่ที่ ๘ ๑๔. นายกรกต โหดไทยสงค์ ส.อบต. หมู่ที่ ๘ ๑๕. นายอุดมทรัพย์ ขันบรรจง ส.อบต. หมู่ที่ ๙ ๑๖. นายสมพร เที่ยวไทย ส.อบต. หมู่ที่ ๙ ๑๗. นายเสงี่ยม วงค์สีดา ส.อบต. หมู่ที่ ๑๐ ๑๘. นายแก้วไสย พันธุลา ส.อบต. หมู่ที่ ๑๐ ๑๙. นายสำรวย พูดเพราะ ส.อบต. หมู่ที่ ๑๑ ๒๐. นายสมหมาย หนังไทยสงค์ ส.อบต. หมู่ที่ ๑๓ ๒๑. นางนงเยาว์ คล่องอักขระ ส.อบต. หมู่ที่ ๑๓ ๒๒. นายสำรวย ศรีพุทธา