messager
 
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง info_outline ข้อมูลการติดต่อ
องค์การบริหารส่วนตำบล
ห้วยยาง
อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
folder รายงานผลการพัฒนาทรัพยากรบุคคล
รายงาน
รายงานสรุปผลการดำเนินการ โครงการอบรมเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒ หน่วยงาน งานการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ระหว่างวันที่ ๑๑ – ๑๔ เดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ โครงการอบรมและศึกษาดูงาน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒ ระหว่างวันที่ ๑๑ – ๑๔ เดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ หลักการและเหตุผล องค์การบริหารส่วนตำบล ถือเป็นหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่ให้บริการสาธารณะ แก่ประชาชนในหลายด้าน และมีภารกิจหลากหลายทั้งภารกิจตามกฎหมายจัดตั้ง และภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนจากหน่วยงานราชการอื่น การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลจึงต้องอาศัยบุคลากรในฝ่ายต่าง ๆ เพื่อให้สามารถสนองความต้องการและให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการพัฒนาบุคลากร จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานของท้องถิ่น เนื่องจากสังคมในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเกิดสิ่งใหม่หรือนวัตกรรมใหม่อยู่เสมอ ตลอดจนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทั้งในมิติของท้องถิ่นเอง หรือแม้กระทั่งระดับประเทศ เช่น การเกิดกลุ่มประชาคมอาเซียน เป็นต้น การพัฒนาศักยภาพบุคลากร การปรับปรุงแนวคิด กระบวนทัศน์ ในการพัฒนาท้องถิ่นสำหรับ คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล พนักงานส่วนตำบล พนักงานจ้าง ผู้นำท้องถิ่น ตัวแทนกลุ่มองค์กรในตำบล และข้าราชการในเขตพื้นที่ตำบลห้วยยาง ถือเป็นอีกหนึ่งภารกิจที่จะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านเทคนิควิธีการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นของตนเองอย่างยั่งยืน ซึ่งการฝึกอบรมและการศึกษาดูงานนอกสถานที่ เป็นอีกวิธีการหนึ่งในการพัฒนาประสิทธิภาพบุคลากร ในการเปิดโลกทัศน์ ปรับแนวความคิด ทัศนคติ ให้มีความพร้อมในการที่จะรับประสบการณ์ใหม่นำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง จึงได้จัดทำโครงการอบรมเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ขึ้น เพื่อให้บุคลากรได้เรียนรู้ระเบียบวิธีเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตลอดจนเทคนิควิธีการปฏิบัติงานใหม่ ๆ แนวความคิดทฤษฎีใหม่ที่จะสามารถนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของงาน อันจะนำมาซึ่งประสิทธิภาพประสิทธิผลในการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งจะส่งผลต่อการให้บริการประชาชนให้เกิดความพึงพอใจอย่างสูงสุดต่อไป วัตถุประสงค์ ๒.๑ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง การบริหารจัดการภาครัฐ แนวใหม่ หลักธรรมาภิบาล และความโปร่งใสภาครัฐ คุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน ตลอดจนได้เรียนรู้ในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๒.๒ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้รับประสบการณ์ เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดความเห็นจากการศึกษาดูงานนอกสถานที่ ๒.๓ เพื่อสร้างความพร้อมให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้สามารถปรับตัวตามกระแสของภาคสังคม นโยบายของรัฐบาล ๒.๔ เพื่อพัฒนาทักษะ แนวคิดวิธีการในการปฏิบัติหน้าที่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเอง ต่อองค์กรและต่อประชาชนผู้รับบริการ เป้าหมาย ๓.๑ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน ๒๐ คน ๓.๒ คณะผู้บริหาร จำนวน ๑ คน ๓.๓ พนักงานส่วนตำบล จำนวน ๒๕ คน ๓.๔ พนักงานจ้าง จำนวน ๓๓ คน ๓.๕ ครู (ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก) จำนวน ๑๑ คน ๓.๖ ผู้นำชุมชน/กลุ่มองค์กรในตำบล จำนวน ๑๐ คน รวม จำนวน ๑๐๐ คน วิธีดำเนินการ ๔.๑ จัดอบรมสัมมนาโดยใช้เทคนิคการฝึกอบรมรูปแบบต่างๆ เช่น การรับฟังบรรยาย การระดมสมอง การร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนการซักถามปัญหาต่าง ๆ จากผู้มีความรู้และประสบการณ์ ๔.๒ ทัศนศึกษาดูงานนอกสถานที่ ณ จังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดเลย ๔.๓ ประเมินผลโครงการ โดยใช้วิธีการสังเกตจากพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมอบรมสัมมนาหลังจากเข้าร่วมโครงการ ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ ๕.๑ ดำเนินการตามโครงการ ระหว่างวันที่ ๑๑ – ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๑ ๕.๒ ฝึกอบรม ระหว่างวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๑ ณ ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ๕.๓ ศึกษาดูงานนอกสถานที่ ระหว่างวันที่ ๑๑ – ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๑ รายละเอียดตามกำหนดการแนบท้าย งบประมาณ งบประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ บาท(สี่แสนบาทถ้วน) ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง วันอบรม (วันอังคาร ที่ ๑๑ เดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑) เวลา ๐๘.๐๐ - ๐๘.๓๐ น. ผู้เข้าร่วมโครงการลงทะเบียนรับเอกสาร เวลา ๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น. พิธีเปิดการอบรมโดย นายรำลึก อิงเอนุ ตำแหน่ง ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ปฏิบัติหน้าที่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. ว่าที่ร้อยตรี เกรียงศักดิ์ ชูกลิ่น หัวหน้ากลุ่มงานกฎหมาย สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร วิทยากรบรรยายในหัวข้อ “การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่และหลักธรรมาภิบาลและความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน” ผู้เข้าอบรมได้ความรู้เกี่ยวกับข้อกฎหมายที่จำเป็นหลักธรรมาภิบาลและการบริหารงานด้วยความโปร่งใส โดยสรุปเนื้อหาได้ดังนี้ หลักการสำคัญที่สุดในการดำเนินการจัดการความรู้ คือ ต้องดำเนินการอย่างง่ายที่สุด ไม่เน้นการใช้เครื่องมือหรูหราหรือยุ่งยาก เริ่มจากกิจกรรมดี ๆ เช่น best practice กิจกรรมกลุ่มสร้างสรรค์ในงานประจำที่มีอยู่แล้วภายในหน่วยงานหรือองค์กร นำมาจัดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิช่วยกระตุ้นและมีการตั้งคำถาม เพื่อให้กลุ่มงานมีการนำเสนอกิจกรรมของตนอย่างมีชีวิตชีวา และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ทรงพลัง เช่น ๑) มีใครหรือเหตุการณ์ใดที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการพัฒนางานจนเกิด best practice อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในช่วงเวลาของการพัฒนาดังกล่าว ใครบ้างเข้ามามีส่วนร่วม ร่วมอย่างไร เกิดกระบวนการอะไรบ้างที่เป็นปัจจัยสำคัญนำไปสู่ความสำเร็จ ความยากลำบากที่ต้องเผชิญคืออะไรบ้าง ได้เอาชนะอุปสรรคนั้นอย่างไร ๒) มีการใช้ความรู้อะไรบ้างในการดำเนินกิจกรรม/ ดำเนินงาน และได้ความรู้เหล่านั้นมาจากไหน ๓) มีแผนจะทำให้ดียิ่งขึ้นอย่างไร ต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้าง ๔) คิดว่ามีหน่วยงานใดบ้างที่น่าจะเรียนรู้จากกิจกรรมของกลุ่มของท่านได้ ๕) มีความรู้อะไรบ้างที่พร้อมจะแลกเปลี่ยนกับเพื่อนร่วมงานในหน่วยงานอื่นภายในองค์กร กล่าวโดยสรุป การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือที่ผู้บริหารองค์การนำมาใช้การบริหารหน่วยงานให้เป็นไปตามรูปแบบการบริหารราชการแนวใหม่ เพื่อให้หน่วยงานเกิดการพัฒนาความรู้ควบคู่กับการดำเนินงาน ส่งผลให้เกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อให้เกิดผลสำเร็จหน่วยงานต้องดำเนินการ ดังนี้ ๑. ต้องร่วมมือกันบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมไทยให้ดียิ่งขึ้น หมายถึง ทุกภาคในสังคม ได้แก่ ภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน ต้องร่วมมือกันบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมไทยให้ดียิ่งขึ้นๆ ไป ๒. ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง หมายถึง การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสำคัญ คือ ผู้นำและเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ต้องเข้าใจมีจิตสำนึก เห็นความจำเป็นและความสำคัญของการดำเนินการในเรื่องนี้ ๓. หลักการและวิธีการใช้อำนาจ หมายถึง กระบวนการสร้าง การบริหารกิจการบ้านเมือง และสังคมที่ดีในสังคมใดๆ ขึ้นอยู่กับวิธีการใช้อำนาจ ซึ่งแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ผู้ใช้อำนาจและผู้ถูกใช้อำนาจหากทั้งสองผ่ายพอใจในวิธีการบริหารกินการบ้านเมืองและสังคม ย่อมหมายความว่า สังคมนั้นมีการบริหารจัดการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ๔. ดำเนินการให้เป็นไปตามองค์ประกอบ องค์ประกอบการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมือง และสังคมที่ดีมี ๔ ประการ คือ · ความเชื่อของผู้มีอำนาจว่าอำนาจสามารถแบ่งปันได้ · กลไกการแบ่งปันอำนาจ · กลไกการคานอำนาจ · ระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจและการคานอำนาจ หลักธรรมาภิบาลจึงถือเป็นหลักพื้นฐานในการปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาในการบริหารจัดการเพราะจะช่วยให้สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังทำให้พนักงานทุกคนมีความสุขในการทำงาน และยังช่วยสร้างขวัญและกำลังใจที่ดี พร้อมปฏิบัติหน้าที่ตามที่ตนได้รับมอบหมายอย่างเต็มกำลังความสามารถ ซึ่งจะส่งผลดีโดยรวมกับการดำเนินงานให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้อีกในอนาคต หลักธรรมาภิบาลมีประโยชน์ต่อภาครัฐ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. นายธวัชชัย พรมดี ตำแหน่ง ท้องถิ่นอำเภอเมืองสกลนคร มาเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อเรื่อง “การสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน” ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ โดยสรุปเนื้อหาได้ดังนี้ การสอน "คุณธรรม/จริยธรรม" เป็นความต้องการที่คนรุ่นหนึ่งจะชี้นำคนอีกรุ่นหนึ่ง โดยผู้สอนมีความเชื่อว่าประสบการณ์ของตนอาจสร้างความเข้าใจเรื่อง คุณธรรม/จริยธรรม (หรือความดี ความถูกต้อง ความเหมาะสม) อย่างถ่องแท้ในระดับหนึ่ง และต้องการให้ เยาวชนเชื่อ ดีและเหมาะสมกับเยาวชน การยึดหลักคุณธรรม/จริยธรรม ทำให้มนุษย์มีความสุข ความสวย และความงาม โดยที่ความสุขนั้นควรเป็นความสุขแบบเรียบง่ายและยั่งยืน คุณสมบัติอันเป็นความพร้อมที่จะพัฒนา จริยธรรมของบุคคลประกอบด้วย ๑. ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของชีวิตและหลัก จริยธรรม ทุกคนได้มีโอกาสเรียนรู้มาตั้งแต่วัยต้นของชีวิตจากการเลี้ยงดู การศึกษาอบรม และจากประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยอาจเป็นในวิถีทางที่ต่างกัน ซึ่งเป็นผลให้บุคคลมีพัฒนาการทางจริยธรรมต่างกัน จากกฎเกณฑ์การตัดสินที่ต่างกัน ๒. ความใฝ่ธรรม มนุษย์มีธรรมชาติ ของการ แสวงหาความถูกต้องเป็นธรรมหรือความดีงามตั้งแต่วัยทารก คุณสมบัตินี้ทำให้บุคคลนิยมคนดี ชอบสังคมที่มีคุณธรรมจริยธรรม ต้องการที่จะพัฒนาตนเองให้เป็นคนดี อย่างไรก็ตามประสบการณ์ในชีวิตจากการเลี้ยงดูและเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมคุณธรรม เป็นปัจจัยสำคัญให้บุคคลพร้อมที่จะพัฒนาตนเองให้มีจริยธรรมสูงกว่า ๓. ความรู้จักตนเองของบุคคลนั้น ความรู้จักตนเองของบุคคล คือ สร้างความสามารถในการพิจารณาให้รู้อิทธิพลของความดีและความไม่ดีของตนให้ชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้บุคคลสามารถเสริมสร้างความดีของตนให้มีพลังเข็มแข็ง ในลักษณะที่ตนเองและสังคมยอมรับได้ ความรู้จักตนเองนี้จะทำให้บุคคลมีความมั่นใจ มีพลังและพร้อมที่จะขจัดความไม่ดีของตนและพัฒนาตนเองอย่างถูกต้องดีขึ้น วิถีทางพัฒนาจริยธรรม ๑. การศึกษาเรียนรู้ กระทำได้หลายวิธี ดังนี้ ๑.๑ การศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยการหาความ รู้จากการอ่านหนังสือเกี่ยวกับปรัชญาศาสนา วรรณคดีที่มีคุณค่า หนังสือเกี่ยวกับจริยธรรมทั่วไปและ จริยธรรมวิชาชีพ ๑.๒ การเข้าร่วมประชุมสัมมนา เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นและประสบการณ์เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม และการคบหาบัณฑิตผู้ใส่ใจด้าน จริยธรรม ๑.๓ การเรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตและจากประสบการณ์ในสถานที่ปฏิบัติงาน ประสบการณ์จริงเป็นโอกาสอันประเสริฐในการเรียนรู้จริยธรรมแห่งชีวิต ที่ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างลึกซึ้งทั้งด้านเจตคติและทักษะการแก้ปัญหาเชิง จริยธรรม อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับความพร้อมของบุคคล ผู้มีความพร้อมน้อยอาจจะไม่ได้ประโยชน์จากการเรียนรู้อันมีค่านี้เลย ๒. การวิเคราะห์ตนเอง บุคคลผู้มีความพร้อมจะพัฒนามีความตั้งใจและเห็นความสำคัญของการวิเคราะห์ตนเองเพื่อทำความรู้จักในตัวตนเอง ด้วยการพิจารณาเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมการแสดงออกของตนเอง จะช่วยให้บุคคลตระหนักรู้คุณลักษณะของตนเอง รู้จุดดีจุดด้อยของตน รู้ว่าควรคงลักษณะใดไว้ การวิเคราะห์ตนเอง กระทำได้ด้วยหลักการต่อไปนี้ ๒.๑ การรับฟังความคิดเห็นเชิงวิพากษ์จากคำพูดและอากัปกิริยาจากบุคคลรอบข้าง เช่น จากผู้บังคับบัญชา จากเพื่อนร่วมงาน จากผู้ใกล้ชิดหรือบุคคลในครอบครัว ๒.๒ วิเคราะห์ตนเองเกี่ยวกับความคิด ความต้องการเจตคติการกระทำ และผลการ กระทำทั้งในอดีตและปัจจุบัน ๒.๓ ค้นหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆ เช่น จากตำรา บทความ รายงานการวิจัยด้านพฤติกรรมศาสตร์หรือศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์และพัฒนาตนอย่างถ่องแท้ ๒.๔ เข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาจิตใจ (จิตใจและพฤติกรรมมนุษย์เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้เช่นเดียวกับสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก) ทำให้จิตใจได้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดปัญญารับรู้ตนเองอย่างลึกซึ้งและแท้จริง ๓. การฝึกตน เป็นวิธีการพัฒนาด้าน คุณธรรมจริยธรรมด้วย ตนเองขั้นสูงสุด เพราะเป็นการพัฒนาความสามารถของบุคคล ในการ ควบคุมการประพฤติปฏิบัติของตนให้อยู่ในกรอบของพฤติกรรมที่พึงปรารถนาของสังคม ทั้งในสภาพการณ์ปกติและเมื่อเผชิญปัญหาหรือขัดแย้ง การฝึกตน เป็นวิธีการพัฒนาด้าน คุณธรรม จริยธรรมด้วยตนเองขั้นสูงสุด เพราะเป็นการพัฒนาความสามารถของบุคคล ในการควบคุมการประพฤติปฏิบัติของตนให้อยู่ในกรอบของพฤติกรรมที่พึงปรารถนาของสังคม ทั้งในสภาพการณ์ปกติและเมื่อเผชิญปัญหาหรือขัดแย้ง ๓.๑ การฝึกวินัยขั้นพื้นฐาน เช่น ความขยันหมั่นเพียร การพึ่งตนเอง ความตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบ การรู้จักประหยัดและออม ความซื่อสัตย์ ความมี สัมมาคารวะ ความรักชาติฯ ๓.๒ การรักษาศีลตามความเชื่อในศาสนาของตน ศีลเป็นตัวกำหนดที่จะทำให้งดเว้นในการที่จะกระทำชั่วร้ายใด ๆ อยู่ในจิตใจ ส่งผลให้บุคคลมีพลังจิตที่เข้มแข็งรู้เท่าทันความคิดสามารถควบคุมตนได้ ๓.๓ การทำสมาธิ เป็นการฝึกให้เกิดการตั้งมั่นของจิตใจทำให้เกิดภาวะมีอารมณ์หนึ่งเดียวของกุศลจิต เป็นจิตใจที่สงบผ่องใสบริสุทธิ์เป็นจิตที่เข้มแข็ง มั่นคง แน่วแน่ ทำให้เกิดปัญญาสามารถพิจารณาเห็นทุกอย่างตรงสภาพความเป็นจริง ๓.๔ ฝึกการเป็นผู้ให้ เช่น การรู้จัก ให้อภัย รู้จักแบ่งปันความรู้ ความดีความชอบ บริจาคเพื่อสาธารณะประโยชน์ อุทิศแรงกายแรงใจช่วยงานสาธารณะประโยชน์โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ สรุปได้ว่า การพัฒนาจริยธรรมด้วยวิธีพัฒนาตนเองตามขั้นตอนดังกล่าว เป็นธรรมภาระที่บุคคลสามารถปฏิบัติได้ควบคู่กับการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่มิใช่เป็นการกระทำในลักษณะเสร็จสิ้น ต้องกระทำอย่างต่อเนื่องจนเป็นนิสัย เพราะจิตใจของมนุษย์เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เฉกเช่น กระแสสังคมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เวลา ๑๔.๔๕ – ๑๖.๔๕ น. นายพุฒิพงษ์ ยะพลหา ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองสกลนคร บรรยายในหัวข้อเรื่อง “ การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในครอบครัว และชุมชน” ทำให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ในการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง โดยสรุปเนื้อหาได้ดังนี้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (รัชกาลที่ ๙) ที่ทรงให้แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยตลอดนานกว่า ๓๐ ปี คือ ใช้จ่าย ๓ ส่วน และเก็บออม ๑ ได้นำมาปฏิบัติทำให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ครอบครัวของฉันอยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง ดังนี้ ๑. พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน ๒-๓ ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน แบ่งให้เพื่อนบ้านบ้าง เหลือจึงขายไป ๒. พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็นใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล) คุณพ่อของฉันและฉันมักเน้นเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้าและน้ำประปา ท่านให้พวกเราช่วยกันประหยัด ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านหรือโรงเรียน ก็ควรปิดน้ำ ปิดไฟ เมื่อเลิกใช้งานทุกครั้ง ๓. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ชีวิต โดยจะอยู่ในกิจกรรม “ออมวันนี้ เศรษฐีวันหน้า” ๔. เมื่อมีรายได้แต่ละเดือน จะแบ่งไว้ใช้จ่าย 3 ส่วน เป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าจิปาถะ ที่ใช้ในครัวเรือน รวมทั้งค่าเสื้อผ้า เครื่องใช้บางอย่างที่ชำรุด เป็นต้น ๕. ฉันจะยึดความประหยัด ตัดทอนรายจ่ายในทุกๆ วันที่ไม่จำเป็น ลดละความฟุ่มเฟือย การปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้ ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือย ในการดำรงชีพ “ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง” ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต “ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดมาจากการประพฤติชอบ และการหาเลี้ยงชีพชอบเป็นสำคัญ” ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในการค้าขาย ประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง “ความสุขความเจริญอันแท้จริง หมายถึง ความสุข ความเจริญ ที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนาและการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญหรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังจากผู้อื่น” มุ่งเน้นหาข้าวหาปลา ก่อนมุ่งเน้นหาเงินหาทอง ทำมาหากินก่อนทำมาค้าขาย ภูมิปัญญาชาวบ้านและที่ดินทำกิน คือทุนทางสังคม ตั้งสติที่มั่นคง ร่างกายที่แข็งแรงปัญญาที่เฉียบแหลม ข้อเสนอแนะ เศรษฐกิจพอเพียงจะดำเนินไปได้ดี ด้วยการ ประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนปฏิบัติตาม ที่ขอให้อย่าลืมที่จะปฏิบัติในเรื่อง ความขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน ปฏิบัติตนเป็นคนดี ดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายให้พอเพียง พอกิน และพอใช้ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ถึงเวลาแล้วที่พวกเราทุกคนควรร่วมมือ ร่วมใจ กันปฏิบัติตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงตั้งแต่ยังเด็ก แล้วจะติดเป็นนิสัยความพอเพียงไปตลอดชีวิต สามารถนำไปพัฒนาตน พัฒนาประเทศชาติให้เจริญ ก้าวหน้า เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ เป็นคนดีของสังคม เศรษฐกิจพื้นฐาน ประกอบด้วยลักษณะสำคัญคือ • เป็นเศรษฐกิจ ของคนทั้งมวล • มีชุมชนที่เข้มแข็งเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจ • มีความเป็นบูรณาการเข้มแข็งไปพร้อม ๆ กันหมด ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และ วัฒนธรรม • เติบโตบนพื้นฐานที่เข้มแข็งของเราเอง เช่น ด้านเกษตร หัตถกรรม อุตสาหกรรม สมุนไพร อาหาร การท่องเที่ยว เป็นต้น • มีการจัดการที่ดีเป็นพื้นฐาน ส่งเสริมการเกิดนวัตกรรมต่าง ๆ ให้สามารถนำมาใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง การพัฒนาประเทศตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาประเทศ มิได้มีแบบอย่างตายตัวตามตำรา หากแต่ต้องเป็นไปตามสภาพภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์ สังคมวิทยา วัฒนธรรมชุมชน ที่มีความหลากหลาย ในขณะเดียวกันเราก็ต้องเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วตามอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัฒน์ ควบคู่ไปกับการพยายามหาแนวทางหรือวิธีการที่จะดำรงชีวิตตามหลักการพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ดำเนินไปได้อย่างสมดุลและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในยุคโลกาภิวัฒน์ โดยอาศัยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบที่ชุมชนอาจจะได้รับ ไม่ให้กระแสเหล่านั้นมาทำลายเอกลักษณ์และวัฒนธรรมชุมชนจนต้องล่มสลายไป จากแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางที่ให้ประชาชนดำเนินตามวิถีแห่งการดำรงชีพ ที่สมบูรณ์ ศานติสุข โดยมีธรรมะเป็นเครื่องกำกับ และใจตนเป็นที่สำคัญ ซึ่งก็คือ วิถีชีวิตไทย ที่ยึดเส้นทางสายกลางของความพอดี ในหลักของการพึ่งพาตนเอง ๕ ประการ คือ • ความพอดีด้านจิตใจ : เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร ประณีประนอม คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม • ความพอดีด้านสังคม : มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน รู้จักผนึกกำลัง และที่สำคัญมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากฐานรากที่มั่นคงและแข็งแรง • ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ เพื่อพัฒนาประเทศให้มั่นคงเป็นขั้นเป็นตอนไป • ความพอดีด้านเทคโนโลยี : รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการและควร พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเอง และสอดคล้องเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเราเอง • ความพอดีด้านเศรษฐกิจ : เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอสมควร พออยู่ พอกินตามอัตภาพ และฐานะของตนเอง จะเห็นได้ว่าการพัฒนาเริ่มจาก การสร้างพื้นฐาน ความพอกินพอใช้ ของประชาชนในชาติเป็นส่วนใหญ่ก่อน แล้วจึงค่อยเสริมสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจ ตามลำดับ เพื่อจะได้เกิดสมดุลทางด้านต่าง ๆ หรือ เป็นการดำเนินการไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอน จากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่ง โดยสร้างความพร้อมทางด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ที่ไม่ใช่เป็นการ“ ก้าวกระโดด ”ที่ต้องใช้ปัจจัยภายนอกต่าง ๆ มาเป็นตัวกระตุ้น เพียงเพื่อให้เกิดความทันกันในชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งในที่สุดประชาชนไม่สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการและการแข่งขันดังกล่าวได้ ก็จะเกิดปัญหาตามมา ดังที่ประเทศไทยได้ประสบปัญหาเศรษฐกิจ เมื่อปี ๒๕๔๐ ศึกษาดูงาน วันพุธ ที่ ๑๒ เดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ศึกษาดูงาน ที่ไร่ทิพย์เสาวรส & ไร่พริกไทยลุงประมาณ คณะศึกษาดูงาน ได้เดินทางไปถึงไร่ทิพย์เสาวรส&ไร่พริกไทยลุงประมาณ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เวลาประมาณ ๐๙.๐๐ น. และได้เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเกิดจากการที่คุณดวงทิพย์ สายโสภา และคุณประมาณ สายโสภา สองสามีภรรยา ได้ช่วยกันบุกเบิกพื้นที่ มรดกที่ได้รับจากบิดามารดา ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บนพื้นที่ ๑๔ ไร่ โดยใช้หลักการธรรมชาติให้พืชพึ่งพิงกันและกัน เน้นการปลูกพืชแบบปลอดสารพิษ จุดเด่นของไร่ทิพย์เสาวรส & ไร่พริกไทยลุงประมาณ เน้นการปลูกพืชผสมผสานกัน เช่น เสาวรส พริกไทย สะตอ อโวกาโด เงาะ มะไฟ ลิ้นจี่ ทุเรียน ดีปลากั้ง แก้วมังกร กาแฟ อาราบิก้า ฯลฯ ไร่ทิพย์เสาวรส & ไร่พริกไทยลุงประมาณ เป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรปลอดภัย (ได้ใบรับรอง GAP) เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของอำเภอเขาค้อ มีนักท่องเทียวและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศแวะเยี่ยมชมและเข้าศึกษาดูงานตลอดปี นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เคยแวะเยี่ยมชมได้แก่ สิงคโปร์ จีน และเวียดนาม เมื่อปี ๒๕๒๘ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นปราชญ์เกษตรดีเด่นประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ นอกจากนี้ยังได้รับความไว้วางใจจากโครงการหลวงดอยคำ ให้ส่งวัตถุดิบเสาวรส (เนื้อพร้อมเมล็ด) เป็นจำนวนมาก ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ในไร่มีตามฤดูกาล ทั้งน้ำเสาวรสสดพร้อมดื่ม ลูกเสาวรส พริกไทยสด พริกไทยขาว พริกไทยดำ กิ่งพันธ์พริกไทย สะตอ มะไฟ อโวคาโด้ ดอกดีปลากั้ง เงาะ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์จากอโวคาโด้ ได้แก่ สบู่ ครีม และแชมพูจำหน่ายอีกด้วย ไร่ทิพย์เสาวรส & ไร่พริกไทยลุงประมาณ เป็นอีก ๑ ตัวอย่างของการทำเกษตรแบบผสมผสาน ที่นักท่องเที่ยวทั่วไป นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน